วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
เวลา 12.30 - 15.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เรียน การเล่นส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

9 วิธีกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้เด็ก

encourage-children-to-use-creativity-9-ways-to-play-with-children
  1. จัดมุมเล่นบทบาทสมมติในบ้าน พร้อมอุปกรณ์ เช่น เสื้อผ้า ของใช้ในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ที่ใช้วาดรูป ยิ่งมากยิ่งหลากหลาย เด็กจะสร้างสรรค์ได้มากเท่าที่จินตนาการจะพาไป การเล่นสวมบทบาทเป็นคนอื่นหรือตัวละครจากนิทาน การวาดรูป ระบายสี ปั้นแป้ง จะช่วยให้เด็กแสดงออกถึงความคิด
  2. เล่นกับลูกเมื่อลูกชวนเล่นตามเรื่องที่เด็กสร้างขึ้น โดยให้ลูกเป็นผู้นำการเล่น เพื่อให้เด็กใช้ความคิดและจินตนาการอย่างเป็นอิสระ หากพ่อแม่เป็นผู้นำการเล่นเอง จะขัดขวางจินตนาการของเด็ก
  3. เตรียมอุปกรณ์ต่างๆเพื่อให้เด็กเล่นสร้างบ้าน เพราะบ้านเป็นสถานที่ที่เด็กรู้สึกผ่อนคลายอบอุ่นและปลอดภัย เด็กจะใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างบ้านแบบต่างๆ ที่เด็กฝันอยากจะมี
  4. ส่งเสริมให้ลูกเล่นของเล่นอย่างอิสระ เช่น บล็อก ตัวต่อเลโก้ ดินน้ำมัน หรือเล่นทราย ที่สามารถต่อหรือสร้างเป็นอะไรก็ได้ ของเล่นประเภทนี้จะช่วยให้เด็กใช้ความคิด จินตนาการอย่างไม่มีข้อจำกัด
  5. เล่นเล่าเรื่องคนละประโยคหรือเล่นต่อเพลง เด็กจะได้รับการกระตุ้นให้คิด
  6. พาเด็กไปสัมผัสธรรมชาติให้มากเท่าที่จะทำได้ เช่นไปเที่ยวสวนสาธารณะ สวนสัตว์ ทะเล น้ำตก ป่า ความหลากหลายในธรรมชาติ มีทั้งพืช สัตว์ ก้อนหิน ดินทราย ถือเป็นครูทางจินตนาการของเด็ก ฝึกให้เด็กช่างสังเกต กระตุ้นความอยากในการเรียนรู้
  7. ใช้หัวใจมองเห็นสิ่งมหัศจรรย์ในตัวลูก รักเขาตามที่เขาเป็น อย่าใช้ความคาดหวังของพ่อแม่ตัดสินลูกหรือเปรียบเทียบกับลูกคนอื่น เพราะเด็กมีความพิเศษต่างกัน ที่สำคัญ เด็กที่ฉลาด มักคิดต่างจากใครๆโดยเฉพาะผู้ใหญ่
  8. สร้างบรรยากาศแห่งความรักความอบอุ่นในครอบครัว เด็กจะได้ทั้งอาหารใจและยาบำรุงสมองชั้นดีด้วย
  9. พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกรู้จักการสังเกต รู้จักตั้งคำถาม และคอยตอบคำถามของลูกด้วยความรักและความใส่ใจค่ะ
บรรยากาศในการเรียน




ประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจ มียกตัวอย่างให้ดู



วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
เวลา 12.30 - 15.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมความคิดสร้างสรรค์ โดยมีกิจกรรมเชือก กิจกรรมเเต่งตัวเเม่ย่านาง กิจกรรมสร้างเรือให้สนุก

บรรยากาศกิจกรรม






ประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอยชี้เเนะและมีวิธีใหม่ๆมาให้ลองทำ




วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563
เวลา 12.30 - 15.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์อนเรื่องความคิดสร้างสรรค์และก็ให้จับกลุ่มคิดท่าสร้างสรรค์เเละคิดท่าเรือตามความคิดของเราเอง
ความคิดสร้างสรรค์คือ ความคิดใหม่ ๆ แนวทางใหม่ ๆ ทัศนคติใหม่ ๆ ความเข้าใจและการมองปัญหาในรูปแบบใหม่ ผลลัพท์ของความคิดสร้างสรรค์ที่ชัดเจน คือ ดนตรี การแสดง วรรณกรรม ละคร สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมทางเทคนิค แต่บางครั้งความคิดสร้างสรรค์ก็มองไม่เห็นชัดเจน เช่น การตั้งคำถามบางอย่างที่ช่วยขยายกรอบของแนวคิดซึ่งให้คำตอบบางอย่าง หรือการมองโลกหรือปัญหาในแนวนอกกรอบ

องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์

เป็นความคิดที่มีลักษณะอเนกนัย ซึ่งประกอบด้วย
  1. ความคิดริเริ่ม (Originality) มีลักษณะแปลกใหม่แตกต่างจากของเดิม / คิดดัดแปลง ประยุกต์เป็นความคิดใหม่
  2. ความคิดคล่องตัว (Fluency)
    2.1 ด้านถ้อยคำ (Word Fluency) หลากหลาย ใช้ประโยชน์ได้และไม่ซ้ำแบบผู้อื่น
    2.2 ด้านความสัมพันธ์ (Associational Fluency) จากสิ่งที่คิดริเริ่มออกมาได้อย่างเหมาะสม
    2.3 ด้านการแสดงออก (Expressional Fluency) เป็นความคิดที่สามารถนำเอา ความคิดริเริ่มนั้นมา แสดงออก ให้เห็นเป็น รูปภาพได้อย่างรวดเร็ว
    2.4 ความคิดคล่องด้านความคิด (Ideational Fluency) เป็นการสร้างความคิดให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คิดได้ทันที ที่ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) มีความเป็นอิสระคิดได้หลายๆอย่าง
  4. ความคิดสวยงามละเอียดละออ (Elaboration) มีความรอบคอบ มีความคิดสวยงาม ด้านคุณภาพ มีความประณีต ในความคิดสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณภาพในทุกๆด้าน


รูปกิจกรรม







ประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน :เพื่อนๆตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีตัวอย่างให้ดู