วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2563
เวลา 12.30 - 15.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ให้ทำท่าโยคะเเละทำท่าประกอบเพลงอย่างสร้างสรรค์ และสอนเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเเละจังหวะ

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตามจังหวะอย่างอิสระ โดยจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียง-ทำนองเพลง เสียงปรบมือ เสียงเคาะไม้ กลอง รำมะนา คำคล้องจอง เป็นต้น มาประกอบการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้ จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้

 ความสำคัญของการเคลื่อนไหว1. การร้อง เล่น เต้นรำ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เด็กๆ ชอบ เพราะเป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กที่ไม่อยู่นิ่งและชอบเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา

          2. ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เดิน วิ่ง กระโดดโลดเต้น ชูมือ หมุนตัว ส่ายเอว เพื่อที่จะสามารถพัฒนาทักษะในการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

          3. ช่วยให้สุขภาพร่างกายของเด็กแข็งแรง และพัฒนาอวัยวะทุกส่วนของเด็กให้มีความสัมพันธ์กันอย่างดีในการเคลื่อนไหว เพราะการที่เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายในการเต้นรำตามจังหวะและเสียงดนตรีนั้น เป็นการที่เด็กได้ออกกำลังกายโดยตรง

          4. ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เพราะการที่เด็กได้คิดค้นท่าทางการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระผ่านทางเสียงเพลงเช่น การเคลื่อนไหวเล่นบทบาทสมมุติตามเพลง การเคลื่อนไหวร่างกายกับอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นการฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์และจินตนาการให้แก่เด็กได้ดีมากทีเดียว

          5. ช่วยให้เด็กเกิดความมั่นใจในตนเอง เพราะกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะนั้นเป็นกิจกรรมที่ไม่ปิดกั้นในการที่เด็กได้แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และความเป็นตัวของตัวเองได้อย่างอิสระ ซึ่งส่งผลในการพัฒนาความเป็นเอกลักษณ์และความมั่นใจในตนเองแก่เด็กต่อไป

          6. ช่วยให้เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะจะเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ทำร่วมกับผู้อื่น เช่น เต้นรำในจังหวะต่างๆ เช่น จังหวะวอลซ์ จังหวะชะชะช่า ร่วมกับเพื่อน ซึ่งการที่เด็กได้เต้นรำ เคลื่อนไหวร่างกายร่วมกับผู้อื่นนั้น เป็นการพัฒนาทักษะทางสังคมให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี

          7. การที่เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะเพลง และเสียงดนตรีนั้น ช่วยให้เด็กสนุกสนาน เบิกบาน ผ่อนคลายความเครียด ซึ่งเป็นผลที่ทำให้เด็กเป็นคนมีอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส

          8. การร้อง เต้น เล่นสนุกช่วยพัฒนาสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็ก เช่น ในด้านภาษา เด็กได้เรียนรู้ด้านภาษาผ่านทางเนื้อเพลง ได้เรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ผ่านทางจังหวะของดนตรี

          9. ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ประจำชาติของประเทศต่างๆ เช่น การรำ การเต้นระบำฮาวาย การเต้นแบบจีน การเต้นแบบแขก

          10. ช่วยให้เด็กมีความสามัคคีและปฏิบัติตามข้อตกลงของกลุ่ม เช่น การออกกำลังกายตามเพลงพร้อมกับเพื่อนๆ นอกจากนี้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะยังช่วยฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตามให้แก่เด็กอีกด้วย เช่น ให้เด็กทำท่าทางเคลื่อนไหวร่างกายเป็นผู้นำแล้วให้เพื่อนปฏิบัติตาม โดยมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป 



กิจกรรมโยคะ


กิจกรรมทำท่าประกอบเพลงตามจินตนาการ



ประเมิน

ประเมินตนเอง : ทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสมบูรณ์
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการเรียนดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนสนุก


วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2563
เวลา 12.30 - 15.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์สอน เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย และอาจาย์ให้ทำกิจกรรมเล็กน้อย

 ความคิดสร้างสรรค์ ( Creative Thinking เป็นที่มาของวิธีการใหม่ๆ นวัตกรรมหรือสินค้าใหม่ๆ ที่ผู้อื่นหรือที่อื่นไม่มี ทำให้องค์กรนั้นประสบความสำเร็จมากกว่า 

                ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ดังนี้

1, มีความคิดริเริ่ม ( Originality คือ คิดในสิ่งที่แปลกใหม่ คิดในเรื่องที่ไม่เคยมีใครคิดมาก่อน ไม่ซ้ำใคร ซึ่งแตกต่างจากความคิดของคนธรรมดาทั่วไป

2. มีความยืดหยุ่นในการคิด ( Flexibility คือ มีความสามารถในการคิดหาคำตอบได้หลายทิศทาง หลายแง่มุม หรือมองสถานการณ์ทุกอย่างได้หลายมิติ ทำให้สามารถคิดหาวิธีการแก้ปัญหาได้มากกว่า 1 วิธี

3. มีความคิดคล่องแคล่ว ( Fluency) คือ สามารถคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว และได้คำตอบมากที่สุดในเวลาที่จำกัด หรือเป็นคนที่มีปฏิภาณไหวพริบดี

4. มีความคิดละเอียดลออ ( Elaboration ) คือสามารถคิดในรายละเอียดที่เป็นปลีกย่อยได้ดี เพื่อขยายหรือตกแต่งความคิดหลัก ให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

วิธีฝึกตนเองให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
             ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการฝึกฝน การเรียนรู้ และพัฒนาของสมองซีกขวา ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนให้เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็กและวัยรุ่น สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ วิธีฝึกตนเองให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีดังนี้ 

1. ฝึกใช้ความคิดตลอดเวลา อย่าหยุดคิด โดยตั้งคำถามในเรื่องที่อยากรู้และหาคำตอบประกอบเหตุผล

2. คิดให้รอบด้าน คิดหลายมิติ ไม่ยึดติดแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งเพียงด้านเดียวหรือมิติเดียว

3. สลัดความคิดครอบงำออกไป ไม่จำกัดกรอบความคิดของตนเอง ไว้กับความเคยชินแบบเดิมๆ ที่เคย
เชื่อเคยเห็นและเคยทำมาแล้ว

4. จัดระบบความคิดใหม่เพื่อเปรียบเทียบในมุมมิติต่างๆ หรือนำมาค้นหาความจริง

5. ยึดมั่นในคาถาหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ การฟัง การคิด การถาม และการเขียน หรือ สุ จิ ปุ ลิ” ด้วยการฟังแล้วคิดตาม ไม่เข้าใจให้ซักถาม เมื่อรู้แล้วนำไปเขียนบันทึก

6. ฝึกเป็นคนชั่งสังเกตแล้วจดจำ เพื่อสะสมประสบการณ์และกระตุ้นให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ

7. ฝึกระดมสมองเพื่อรวบรวมความคิดสร้างสรรค์กับเพื่อนๆ หรือบุคคลในครอบครัว หรือผู้อื่นเมื่อมีโอกาส

8. ฝึกแสดงความคิดเห็นบ่อยๆอย่ากลัวล้มเหลวหรือเสียหน้า เพราะการเสนอความคิดเห็นไม่มีถูกหรือผิด

9. ต้องทำอนาคตให้ดีกว่าปัจจุบัน การกระทำทุกอย่างเมื่อเห็นว่าดีหรือประสบความสำเร็จแล้ว ครั้งต่อไปจะต้องพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมด้วยวิธีการใหม่โดยการต่อยอดความคิดเดิม
                                             
ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์

1. เพื่อทำให้เกิดแนวทางใหม่ๆในการดำรงชีวิต และหนทางใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาชีวิตและการทำงาน

2. ช่วยพัฒนาสมอง ให้มีความฉลาดหลักแหลม เพราะการฝึกคิดเรื่องให้เป็นประจำจะทำให้เกิดปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหาต่างๆ เพิ่มขึ้น

3. สร้างความเชื่อมั่นให้ตนเองเมื่อพัฒนาขีดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ จนสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างราบรื่น ก็จะเป็นผู้นำทางด้านความคิด นักประดิษฐ์ หรือเป็น นวัตกร ย่อมเกิดความภาคภูมิในตนเอง

4. ช่วยยกระดับคุณธรรมในเรื่องความขยันหมั่นเพียร อดทน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในเรื่องของความมุ่งมั่นในการทำงาน และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

5. พัฒนาชีวิตให้ทันสมัยและเกิดความสนุก การค้นหาวิธีการคิดและการกระทำใหม่ๆขึ้นมาทดแทนความคิดเก่า จะทำให้ชีวิตมีความทันสมัยและสนุกสนาน


รูปกิจกรรมในการเรียนรู้








ประเมิน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนเเละทำงานี่ได้รับมอบหมาย
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆเข้าเรียนกันตรงเวลา
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำอย่างหลากหลาย สอนสนุก


วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563
เวลา 12.30 - 15.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง STEM 

สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ 

วิทยาศาสตร์ (Science) 

เทคโนโลยี (Technology)  

วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) 

และคณิตศาสตร์ (Mathematics) 

หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน

สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน  การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด  ตั้งคำถาม  แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ  5  ประการได้แก่
 (1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ 
(2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ  
(3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21  
(4) ท้าทายความคิดของนักเรียน  
(5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา  จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์  และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน 
เอกสาร แผนการจัดการเรียนรู้ แบบ STEM


รูปในการเรียน





ประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา สนใจเรียน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือในการเรียนดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนสนุก มีเทคนิคหลากหลาย





วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563
เวลา 12.30 - 15.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้เรียนเกี่ยวกับกิจกรรมวิทยาศาสตร์ และอาจารย์ก็ให้จับคู่ทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์มา 1ชิ้นงาน

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ วิธีการและขั้นตอนที่ใช้ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ หรือหาความจริง หรือใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือในทุก ๆ ศาสตร์ จะต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อตอบคำถาม และเพื่อแก้ปัญหา
ปัจจุบันมีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้จำแนกวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไว้แตกต่างกัน ในที่นี้ขอนำเสนอวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 
ขั้นที่ 1 ตั้งปัญหา 
ขั้นที่ 2 เก็บรวบรวมข้อมูล หรือข้อเท็จจริง 
ขั้นที่ 3 สร้างสมมติฐาน 
ขั้นที่ 4 ทดลองพิสูจน์ 
และขั้นที่ 5 สรุปผล
รูปกิจกรรม



ประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนเเละเข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีเทคนิคที่สอนมากมาย เข้าใจง่าย